‘ปัญหาการศึกษาไทย’ กับ 5 ปัจจัยที่ช่วยให้เด็กไทยเรียนดี และมีความสุขกว่าเดิม
จากผลสำรวจของกรมสุขภาพจิต ในปี พ.ศ. 2565 พบว่านักศึกษาไทย “เครียด-ซึมเศร้า” พุ่ง 30% จำนวนนี้เคยคิดฆ่าตัวตาย 4% โดยเฉพาะเยาวชนไทยอายุต่ำกว่า 20 ปี มีความเครียดสูง 24.83% มีภาวะเสี่ยงซึมเศร้า 29.51% และเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงถึง 20.35% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าวัย
จากตัวเลขทางสถิติจะเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่นักศึกษา แต่เด็กนักเรียนในยุคนี้ ตั้งแต่วัยประถม กลับต้องเผชิญกับความเครียดและแรงกดดันมากมาย หนึ่งในสาเหตุหลักก็คงเป็น ปัญหาการศึกษาไทย ที่ยังแก้ไขไม่ได้ เหมือนโรคร้ายที่เรื้อรังมายาวนาน…
5 แนวทางช่วยแก้ปัญหาการศึกษาไทย เรียนอย่างไรให้ได้ผลดีขึ้น
ลดความกดดันที่ไม่จำเป็น เช่น ระบบการสอบเข้าหลายวิชา และค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป
ปรับปรุงระบบการสอบให้เรียบง่าย ไม่ซับซ้อนและเยอะเกินความจำเป็น เพื่อลดความสับสน ทำให้ผู้เรียนสามารถโฟกัสการเตรียมสอบได้ตรงจุดมากขึ้น รวมถึงลดภาระค่าใช้จ่ายในการสอบ โดยต้องทำให้ผู้เรียนทุกระดับเข้าถึงได้
ให้ความสำคัญ รวมถึงสร้างมาตรฐานใหม่ในสายอาชีพครู
ผู้ที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนการพัฒนาทักษะอาชีพ ความสามารถทางวิชาการ จิตวิทยา จริยธรรม จรรยาบรรณ ค่านิยม รวมถึงค่าตอบแทน สร้างความมั่นคงและมาตรฐานใหม่ให้กับอาชีพครู เพื่อดึงดูดคนเก่งเข้าสู่สายอาชีพครูมากขึ้น
พัฒนาหลักสูตรและวิธีการเรียนรู้ให้ทันโลก ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้เรียนจริง ๆ
ใช้หลักสูตร Personalized Learning ปรับรูปแบบการเรียนตามความชอบความถนัดของผู้เรียน ลดความเครียด และเพิ่มแรงขับในการศึกษา ร่วมกับการจัดบรรยากาศที่ช่วยให้ผ่อนคลาย แต่ได้ผลลัพธ์ที่ดี ต่อยอดการพัฒนาศักยภาพของเด็กให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด
การร่วมมือของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตทางการศึกษาฟรี พร้อมอุปกรณ์
สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเทคนิคการสอน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และบูรณาการหลักสูตรร่วมกัน โดยให้โฟกัสที่ ‘ผู้เรียน’ และ ‘ผลลัพธ์’ เพื่อช่วยผลักดันคุณภาพการศึกษาไทยให้ดีขึ้น รวมถึงให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์ทางการศึกษาฟรี ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมให้กับทุกคน
ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย กระจายความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษา
พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยี สนับสนุนอุปกรณ์ให้กับครูและนักเรียน ช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ พร้อมฝึกฝนการใช้เทคโนโลยีให้เกิดความเชี่ยวชาญ เพื่อผลักดันการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
“มิติของการศึกษาที่เราควรจะมอง ไม่ใช่แค่ Teaching & Learning
หรือการเรียนในห้องเรียนเท่านั้น ตอนนี้เราต้องกลับไปมองว่าอะไรทำให้ชีวิตของคนดีขึ้น”
คุณสาธร อุพันวัน
CEO บริษัท เลิร์น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)