“เพราะความล้มเหลว คือส่วนหนึ่งของการเรียนรู้” – เจ ธีรพงษ์ สิขเรศตระกูล Project Owner, TCASter
“เพราะความล้มเหลว คือส่วนหนึ่งของการเรียนรู้”
– เจ ธีรพงษ์ สิขเรศตระกูล
Project Owner, TCASter
การปลูกฝังความคิดแบบ Growth Mindset ช่วยให้เรารู้จักมองความล้มเหลวหรือข้อผิดพลาดเป็นเรื่องที่ดี แทนที่จะเห็นเป็นปัญหา เพราะไม่ว่าใครก็ย่อมต้องเจออุปสรรคด้วยกันทั้งนั้น สิ่งสำคัญคือการรู้จักการเรียนรู้จากทุกๆ ข้อผิดพลาด เพื่อให้ตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมในครั้งต่อๆ ไป
คนที่ประสบความสำเร็จมากๆ ก็ล้วนมีเส้นทางที่ต้องฝ่าฟัน กว่าจะไปถึงฝั่งฝันด้วยกันทั้งนั้น วันนี้เราจะพาไปพูดคุยกับ เจ – ธีรพงษ์ สิขเรศตระกูล พี่ใหญ่แห่งบ้าน TCASter ถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เคยได้ผ่านความล้มเหลวมา และนำความล้มเหลวนั้นมนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ จนกลายมาเป็น TCASter ในปัจจุบัน..
อะไรคือความท้าทายในการทำงาน
ถ้าย้อนกลับไป ในตัว Tcaster เอง มันสร้างขึ้นมาในส่วนของการ support เราต้องเข้าใจตลาดว่าวันหนึ่งที่ Taster อยากจะโตขึ้นมันไม่ใช่เรื่องง่าย ถามว่าตลาดนี้มี potential ไหม เจมองว่ามันมันมี potential เพราะถ้าดูในต่างประเทศเรื่องของการหาตัวเอง การแนะแนว มันเป็นเรื่องสำคัญมาก แต่ในประเทศไทยอาจจะถูกปลูกฝังมาว่ามันฟรี เรามีครูแนะแนว เรามีสถาบันที่คอยมีบริการมาให้ ในช่วงแรกเลยมีความท้าทายมากๆ ในการที่ทำธุรกิจนี้ให้มันเกิดขึ้นมาได้ และจริงๆ มันมีคู่แข่งที่แข็งแรงกว่าเรา อยู่มานานกว่าเรา เลยทำให้การที่เราจะพลิกโอกาสให้เราชนะขึ้นมา หรือว่ามีจุดยืนในตลาด ไม่ใช่เรื่องง่าย เจก็อาศัยหลายๆ แรงปัจจัยกว่าจะทำให้มันโตขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการ Research ประกอบในการคุยกับลูกค้า พอได้ feedback มาเราก็คุยกับพี่ๆ คุยกับทีม ซึ่งก็ใช้ระยะเวลาพอสมควรเลยกว่าจะทำให้มันโตขึ้นมาได้
ตอนที่ทำเราเริ่มจากการที่เราไม่รู้เลยว่าทำส่วนไหนแล้วมันจะเวิร์ค เราทำได้มากที่สุดคือการวิเคราะห์ตลาด สิ่งที่เราทำหลังจากนั้นคือการที่เราต้องทำ Product เยอะๆ ทำหลายตัวมาก บาง Product เราทำกันวันต่อวันแล้วก็ขึ้นเลย บาง Product เอาขึ้นมาขายก่อนเลยโดยที่เรายังไม่มีไส้ในอะไร ทำอีเว้นท์ ทำหลายสิ่งหลายอย่างกว่าจะมาถึงวันนี้ที่เราควบรวม Product ให้มัน Scale ใหญ่ขึ้น เพราะฉะนั้นถามว่ามันมีความ Fail ในตัว Product ไหม มันมีเยอะมาก แต่การที่เรา Fail เจมองว่ามันคือการที่เราได้ Learning จากสิ่งต่างๆ เหล่านั้น เจว่าสิ่งที่เราชอบพูดกันอยู่บ่อยๆ ว่า “Fail Fast, Fail Cheap..” เราต้องทำยังไงก็ได้ให้เราได้เรียนรู้ เพราะจริงๆ เรามี Generation gap กับน้องๆ กับคนทำงานหลายฝ่าย เยอะมาก เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มเรียนรู้ และก็พยายามปลูกฝัง Mindset ในเรื่องพวกนี้ให้อยู่กับคนทำงาน จริงๆ มันไม่มีใคร Perfect มาตั้งแต่แรก ไม่มีใครที่เราคิดแทนคนอื่นได้ตลอดเวลาว่าเราได้ Insight อันนี้มาแล้ว แล้ว Insight อันนี้ก็ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าคือความ Success ของเรา เพราะสุดท้ายแล้ว Insight นี้มันไม่ใช่ Stereotype ของคนทั้งประเทศหรือกลุ่มลูกค้าทั้งหมด ยิ่งเราพยายามที่จะ Go mass เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือเราต้องคิดว่าทุกอย่างคือการ Learning และทำอะไรให้เร็วไว้ก่อน สิ่งสำคัญคืออย่าพลาดโอกาส ถ้ามีโอกาสเราต้องรีบคว้ามาก่อน ถ้ามันมีปัญหาเราค่อยหาทางในการแก้มัน นี่คือสิ่งที่คิดว่าควรจะมีในตัวคน Learn ทุกคน สิ่งสำคัญที่เจใช้บอกกับทีมตลอดคือ “ความ Fail ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว มันคือสิ่งที่พวกเราต้องเจอ” และเมื่อเจอแล้วเราต้องถอดบทเรียนจากสิ่งเหล่านั้นว่าเราได้อะไรจากมัน ถ้าเราปล่อยให้ความล้มเหลวมันผ่านไปและจบไป แล้วครั้งที่ 2 ที่ 3 เรายังคงล้มเหลวในเรื่องเดิมๆ อันนี้ไม่ถูกต้องแล้ว มันไม่ใช่เรื่องของ Growth Mindset มันไม่ใช่เรื่องของการจะมาอ้างว่ามันเป็นบทเรียนแล้ว อีกอย่างคือเราต้องกล้าที่จะ Feedback กันและกัน จริงๆ บริษัทเราได้ผลักดันเรื่องการ Feedback กันมาสักพักแล้ว แต่ก็ยังมีหลายๆ คนที่ยังไม่กล้าที่จะ Feedback ทั้งกับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน ยังไม่กล้าที่จะพูดความจริง ไม่กล้าซื่อสัตย์กับตัวเองมากพอที่จะบอกว่าเราต้องการอะไร เจว่าส่วนนี้ก็เป็นส่วนสำคัญของ Growth Mindset
Product ไหนในตอนนี้ที่เคย Fail มาก่อนบ้าง
จริงๆ เคยทำตัวนึงครับ เป็นการทำ Train me to be ก็คือเหมือนให้น้องได้มี 2 เซสชั่น เซสชั่นแรกคือแนะแนว เซสชั่นที่สองคือการทำเวิร์คชอป ตอนที่ทำจริงๆ มันก็ยังเป็นพาร์ทที่เราค่อยๆ ปั้น Product อยู่ เรา Success ในแง่ของการทำ Product แต่เรายัง Scale ไม่ได้ ตอนช่วงโควิดเราก็พยายามจะบิดเป็นออนไลน์ มันก็พอได้ประมาณนึง แต่ความคาดหวังใน experience ของน้องที่เราอยากจะให้มันเกิด มันก็ยังไม่ได้ แต่ในปีนี้เราก็คิดแผนใหม่แล้วว่าตัวนี้น่าจะเป็นตัวที่ Success ได้ประมาณนึง
อีกอันนึงเมื่อปีที่แล้วเรามีงานติว ไม่แน่ใจว่าเรียกว่า Success หรือ Fail งานนี้เราได้มาล้านกว่าบาท เราจัดออฟไลน์ด้วยจัดออนไลน์ด้วย กลายเป็นว่าสุดท้ายบนออนไลน์เราได้ 65% ทั้งๆ ที่เราพยายามไปเตรียมสถานที่ ไปติดต่ออะไรไว้เยอะมาก สุดท้ายออฟไลน์เราได้เพียง 35% จากที่คิดว่าจะได้สัก 70% ปีนี้เราเลยจะบิดเป็นออนไลน์ 100% จะ Success หรือ Fail คงต้องรอดูอีกสักพักนึง
อย่างตัว Mock เองเราก็มองว่ายัง Fail อยู่ ถ้ามองโดยภาพรวม อันนี้แล้วแต่มุมมองเนอะ เพราะปีนี้ยังขายได้ไม่ถึง 10 ล้าน แล้วก็มีโควิดอีก เลยจัดสนามจำลองแบบออฟไลน์ไม่ได้ มันก็ไม่ใช่สนามจำลองเสมือนจริง แต่ปีนี้เราก็ยังมีตัวออนไลน์มารองรับ ถ้าถามเจว่ามัน Fail เลยไหม เจมองว่ามันก็ยังไม่ได้ Success ละกัน เรายังสามารถเปลี่ยนแปลง Operation ได้ เราก็พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนกันไป
ถ้าตอบคำถามว่า Product ไหนในตอนนี้ที่เคย Fail มาก่อนบ้าง มันก็เลยยาก เพราะจริงๆ มันเป็นลูปที่ทำปีที่แล้ว แล้วอะไรที่ยัง Fail อยู่ก็จะพยายามบิดมาให้ Success ในปีนี้
ตัวไหนที่เราได้เรียนรู้
ถ้าอย่างตัว Train me to be พอเราจัดออฟไลน์ 1 รอบ จริงๆ เราเห็นดีมานด์ เห็นความแตกต่างที่ต่างจากคู่แข่ง ก็เลยมองว่าเป็นตัวนึงที่เราได้ Lesson Learn เยอะ กับอีกตัวคือ TCASfolio เรามองว่าปีก่อนหน้าสักปีสองปีที่แล้วเราเข้าตลาดได้ถูกช่วง มันก็ค่อนข้างที่จะ Growth แต่ในพอมันมีโควิดมีสถานการณ์ที่ไม่ดี แต่เรายังเข้าไม่ถูกช่วง กลายเป็นว่าก็ Fail สิ่งที่เราทำต่อปีนี้คือเราก็ไปเก็บข้อมูล อยากจะบิดตัวเองเข้า B2B ด้วยจากเดิมที่เป็น B2C อย่างเดียว เหมือนเราค่อยๆ หา Lesson Learn หาโอกาส หาตลาดและอุดช่องโหว่ไปเรื่อยๆ ก็เป็นตัวนึงที่รายได้ค่อยๆ เติบโตขึ้น
อีกตัวคือ TCASter Talk ก็เป็นตัวนึงที่มี Potential ที่จะทำ จริงๆ เราก็พยายามที่จะเร่งสปีดในการทำ ถ้าเป็นเรื่อง Lesson Learn เลยคือ ตอนนั้นเราก็ไม่รู้ว่าคู่แข่งก็กำลังจะทำ และก็มีจังหวะที่ Dek-d ปล่อยออกมาก่อนเรา ซึ่งพอเราเข้าไปทำ Research ในตลาดเราก็เห็นว่ามันมี Potential ที่เด็กเข้ามาเยอะมาก แล้วจริงๆ เนื้อหาของเราแน่นกว่าเขาด้วยซ้ำ แต่เราปล่อยของได้ช้ากว่าเขา มันก็เลยเป็นเหตุผลที่เราไม่สามารถที่จะ Win ใน Product นี้ได้ สิ่งที่เป็น Lesson Learnใหญ่ของเราเลยก็คือเรื่องของ Timing การที่ทำงานกับเด็กในเรื่องของ Education ไม่ว่าจะเป็นกวดวิชา แนะแนวหรืออะไร มันมี Timing ของมัน การเข้าตลาดให้ถูกช่วงมันไม่ใช่แค่เรื่อง Seasonal ของเด็กด้วย แต่มันคือช่วงที่คู่แข่งทำอะไร เราต้องมอนิเตอร์ สุดท้ายเราพยายามทำ User Centric ก็จริง แต่ในขณะเดียวกันเราต้องมอนิเตอร์สิ่งที่อยู่รอบตัวเราด้วยเหมือนกันว่ามีคู่แข่งอะไรเกิดใหม่ คู่แข่งกำลังทำอะไรบ้าง เพื่อเราก็สามารถปล่อยของได้ตอบโจทย์เด็กและตรงตามช่วงเวลาที่ถูกต้อง
ใช้เวลาอยู่กับความ Fail นานแค่ไหน
เจใช้เวลาอยู่กับมันไม่นานเลย อาจจะแล้วแต่ภูมิต้านทานของคน เจจะเป็นคนเครียดกับการที่มันไปได้หรือไม่ได้ ณ ตอนนั้น เช่นสมมติว่าเราตั้งยอดขาย 10 ล้านบาทสำหรับ Product นี้ แล้วมันไม่เป็นตามที่เราคาดหวัง อันนั้นจะเป็นจุดที่เราเครียดที่สุด เพราะเราก็จะพยายามคิดทุกกลยุทธ์เพื่อที่จะขายให้ได้ ด้วยความที่เราเป็นคนที่ไม่ยอมแพ้ แต่สุดท้ายไม่ว่ามันจะจบยังไง เราจะต้องทำใจยอมรับมัน และหาทางเรียนรู้จากบทเรียนที่ผ่านมา
ส่วนคนที่ Fail จริงๆ เลย ส่วนใหญ่จะเป็นน้องๆ ในทีม เจก็จะบอกน้องๆ ว่า สิ่งนี้มันทำให้เราโตขึ้น ได้เรียนรู้ขึ้นนะ มันเป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิตที่จะต้องเจออยู่แล้ว จริงๆ ใช้เวลาเยอะตอนที่คุยกับน้องมากกว่า เพราะบางคนก็จมอยู่กับมันครึ่งเดือนยังไม่ยอม Move on ก็มี ก็ต้องใช้เวลาในการคุยกับน้องเยอะหน่อย สิ่งที่ต้องทำต่อในฐานะ Leader คือต้องให้เขา Fail เรื่อยๆ บางทีก็ให้โปรเจ็กต์ย่อยๆ แล้วให้เขาเรียนรู้จากการทำไปเรื่อยๆ เพื่อให้ทุกคนมีภูมิคุ้มกันในการ Fail fast และทำงานให้เร็ว เขาก็จะเห็นภาพว่าถ้าเกิดเราปล่อยได้เร็วกว่านี้ เราก็จะสามารถกินส่วนแบ่งตรงนี้ได้ มันก็จะให้ Lesson Learnกับเขา
Coach น้องยังไงให้กลับมาได้เร็ว
แค่ต้อง Reflect กันก่อนว่าเกิดอะไรขึ้น และต้องเข้าใจ Background เขานิดนึง บางคนอาจจะไม่เคยเจอความ Fail มาเลย บางคนอาจจะเคยเจอแต่เป็นเรื่องเล็กน้อย บางคนอาจจะรู้สึกกลัวหรือเปล่าว่าทำโปรเจ็กต์นี้พังฉันจะโดนไล่ออกไหม ฉันจะโดนหักเงินดือนหรือเปล่า มันส่งผลต่อตัว PMS ของฉันไหม … อันนี้ก็ต้อง Empathy เขาก่อนว่าประเด็นหลักของเขาเกิดอะไรขึ้น พอเราเข้าใจแล้วว่าเป็นยังไง เราค่อยตบกลับมาสู่สิ่งที่ถูกต้อง และทำความเข้าใจกับเขาว่าจริงๆ แล้วมันไม่เป็นอะไรเลยนะ ให้เขามองให้เห็นว่าการ Fail ครั้งนี้เขาได้อะไรกลับมาบ้าง ถ้าเขามองเห็นสิ่งที่ได้กลับมา ถ้าเขามองเห็น Next step ถัดไป นั่นคือเขาคุ้มแล้วนะ
ได้มีโอกาสส่งต่อ Growth Mindset ให้น้องๆ นักเรียนไหม
ถ้าเป็นน้องๆ นักเรียนก็จะเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับการค้นหาตัวเอง เด็กๆ ที่มากับเราหนึ่งเลยเขาอยากได้ผลงาน อยากได้ระบบการสอบ เราก็พยายามจะใส่ Suggestionลงไปว่าคุณไม่เก่งเรื่องนี้ คุณต้องพัฒนาตัวเองในเรื่องไหนต่อ คุณถึงจะสอบติดได้ จุดอ่อนคุณคืออะไร แต่ในขณะเดียวกันถ้าเป็นเวิร์คชอปที่ได้เจอหน้ากัน เราก็มีหน้าที่ที่จะพยายาม Challenge ให้น้องได้ลงมือทำ การที่เราไม่รู้ตัวเองเลยว่าเราอยากจะไปคณะไหน อยากทำอะไร อนาคตอยากเป็นอาชีพอะไร สิ่งสำคัญมันคือการที่เราต้องทดลอง มันไม่มีหลักสูตรตายตัวว่าคุณเหมาะกับอาชีพไหน เราก็จะไม่บอกว่าน้องต้องเลือกคณะนี้สิ เข้าคณะนี้สิ แต่เราจะบอกว่าคนที่ต้องตัดสินใจคือตัวน้องเอง และจะต้องไม่มารู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เลือกไป เราสามารถรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นได้นะ แต่ที่เหลือมันคือสิ่งที่เราต้องเลือกเอง ต้องตัดสินใจเอง
มีคำคมหรืออะไรที่คอยเตือนเราเรื่อง Growth Mindset ไหม
จริงๆ เจก็เคยมีช่วงก่อนหน้านี้ที่ใช้ชีวิตแบบ Fixed Mindset มาประมาณนึง ซึ่งเจแค่รู้สึกว่าเรามีความคิดเป็นของตัวเอง เราอยากทำนู่น อยากทำนี่ อยากทำในสิ่งที่เราต้องการทำเท่านั้น ก็เคยโดนเตือนสติจากอาจารย์ตอนที่อยู่มหาลัยว่า “อย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว”
ฝากอะไรถึงเพื่อนๆ ใน Learn
หลายๆ ครั้งองค์กรพยายามจะช่วยผลักดันเรา Support เรา ส่งคอร์สเรียนมาให้เราได้พัฒนาสกิลอยู่ตลอดเวลา เวลาเราได้รับโอกาสนั้น เราควรถามตัวเองว่าเราเก็บเกี่ยวมันมาได้มาก น้อยแค่ไหน เราเต็มที่กับ “การเรียนรู้“ ได้มากแค่ไหน เรียนแล้วเราได้นํามาปรับใช้กับงานของเรามากน้อยแค่ไหน การที่เราจะสามารถ Deliver สิ่งที่เราทําไปสู่คน ภายนอกได้ มันเริ่มจากตัวเรา เราในฐานะพนักงาน คนนึง เราควรที่จะมี Mindset ที่ว่าเราจะ พัฒนาและส่งมอบ สิ่งที่ดีที่สุดให้ ลูกค้า ให้องค์กร ให้คนภายนอก ยังไงได้บ้าง สุดท้ายคือวันนึงที่เราอยากจะเติบโตขึ้นในองค์กร ไม่ว่าคุณจะเก่งแค่ไหน สิ่งสําคัญที่สุด คือการเรียนรู้ที่จะตั้งโจทย์ เพราะวันนึงที่เราโตขึ้น จะไม่มีใครมาตั้งโจทย์ให้เราแล้ว เราจะต้องตั้งโจทย์ของเราเอง และตั้งโจทย์ให้คนอื่นต่อๆ ไป มันคือการส่ง มอบคุณค่าอย่างนึง เพราะฉะนั้นสิ่งแรกเราควรจะเริ่มเรียนรู้และพยายามฝึกฝนในการพัฒนาตัวเองก่อน