5 เทคนิคทำเรซูเม่ให้น่าเชื่อถือ แม้จบใหม่ก็ดูมืออาชีพได้
นิสิต นักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่ ข้อดีของเราทุกคนคือความไฟแรง หรือแม้แต่ใครก็ตามที่เพิ่งทำงานมาที่เดียว ที่ไฟและแรงบันดาลใจเต็มร้อย แต่ข้อเสียของเราคือประสบการณ์ที่ยังไม่มากนัก เมื่อทำเรซูเม่ยืนสมัครงานไปที่ไหนก็มักต้องผิดหวัง แต่ถ้าลองใช้ 5 เทคนิคทำเรซูเม่ให้น่าเชื่อถือนี้ดู รับรองว่าแม้ประสบการณ์ไม่มากก็ดูน่าเชื่อถือแน่นอน
กราฟพลังในเรซูเม่ต้องพักไว้แล้วเขียนอธิบายให้ชัดเจน
ไม่รู้ใครเป็นผู้ริเริ่มการเขียนเรซูเม่ที่บอกเล่าความสามารถ หรือทักษะด้วยการใส่กราฟแท่งสี ๆ ขีดพลังสวย ๆ ใช่ มันสวยงามและสร้างสรรค์ แต่สำหรับฝ่าย Hr การต้องมานั่งตีความสิ่งเหล่านี้นั้นเสียเวลา ไม่สื่อสารข้อมูลอย่างตรงไปมาจนชวนให้กวาดลงตะกร้าได้ง่าย ๆ ดังนั้นเลิกทำกราฟพลังแล้วสื่อสารตรง ๆ ว่าเรามีทักษะอะไร ทำได้แค่ไหนในทักษะนั้น ๆ ไม่ใช่ใช้สีสันหรือแท่งกราฟเสมอไป
เรียนเพิ่งจบ ก็เล่าประสบการณ์ได้
บัณฑิตใหม่กลายคนกังวลใจว่าเรซูเม่เราจะดูไม่มีประสบการณ์ หากเราไม่เคยทำงานมาก่อน แต่อย่ามองข้ามการฝึกงาน กิจกรรมที่เคยทำตอนเรียน หรืองานอาสาสมัครเด็ดขาด นอกจากใส่ลงไป เราต้องอธิบายให้ชัดว่าเรารับหน้าที่แบบไหน สิ่งนั้นให้อะไรกับเรา สอนให้เราเรียนรู้อะไร และสิ่งนั้นทำให้เรานำมาใช้กับตำแหน่งที่เราจะสมัครได้อย่างไร ถ้าตอบครบจบทุกโจทย์ที่ว่าไป ก็ถือเป็นกระสบการณ์ที่น่าสนใจเช่นกัน
รูปประกอบเรซูเม่ต้องน่าเชื่อถือ
แม้เราจะเพิ่งจบใหม่ หรือทำงานมาน้อยที่ แต่การใช้รูปนักศึกษาหรือรูปใส่ชุดครุยอาจทำให้เราดูน่าเชื่อถือน้อยลง ดูไม่พร้อมกับโลกการทำงาน แต่ก็ใช่ว่าจะใส่ชุดอะไรก็ได้ ควรเป็นชุดสุภาพ ไม่ต้องทางการเสมอไป (แล้วแต่ตำแหน่งที่สมัคร) แต่ต้องสุภาพ สายตาที่มองกล้องก็ควรแสดงความมั่นใจ มุ่งมั่นเข้าไว้ เพราะรายละเอียดในรูปก็บ่งบอกอะไรเกี่ยวกับตัวเราได้เยอะเลยทีเดียว
ยาวไป ไม่ได้หมายความว่าน่าเชื่อถือ
ความยาวไม่ได้แปลว่าประสบการณ์เยอะ หรือทักษะมากเสมอไป แต่หลายครั้งเรซูเม่ที่ยาวเหยียดเกินไปอาจหมายถึงการสื่อสารไม่เป็น จับประเด็นไม่ได้ หรือนำเสนอไม่ตรงจุด ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องบรรยายตัวเองให้ยืดยาว แต่ต้องสั้น กระชับ ตรงประเด็น เพราะมันบ่งบอกถึงความสามารถในการสื่อสาร การรวบประเด็นที่จะช่วยให้เราน่าเชื่อถือได้เหมือนกัน
สะกดคำถูก รายละเอียดที่หลายคนมองข้าม
หลายคนมองว่าเรซูเม่ที่น่าเชื่อถือต้องมีประสบการณ์อลังการ ทักษะเทพ ๆ เท่านั้น แต่รายละเอียดอย่างการเลือกใช้คำ การสะกดคำถูก ถือเป็นอีกอีกตัวบ่งบอกถึงความพิถีพิถันและความน่าเชื่อถือ ดังนั้นถ้ามั่นใจว่าเราใส่ทุกอย่างลงในเรซูเม่ครบถ้วนแล้ว อย่าลืมตรวจทานคำผิด ดูรายละเอียดของคำให้ถี่ถ้วน ช่วยให้น่าเชื่อถือขึ้นได้มาก
หลายครั้งเรซูเม่ที่น่าเชื่อถือ ไม่ได้เชือดเฉือนกันที่ความหวือหวา ดีไซน์ฉูดฉาดเสมอไป แต่การอธิบายกระชับตรงประเด็น ชัดเจน สะกดถูกต้อง ดีไซนืเรียบง่ายก็บ่งบอกความน่าเชื่อถือของผู้สมัครอย่างเราได้เหมือนกัน