5 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการยื่นภาษี
ช่วงต้นปีแบบนี้ สิ่งที่พนักงานบริษัทจำเป็นต้องทำทุกปีก็คือ #ยื่นภาษี ต้องเตรียมเอกสารมากมาย แต่! เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนเป็นมือใหม่ของวงการนี้แน่นอน คงจะรู้สึกมีข้อข้องใจ เข้าใจผิดมากมายเกิดขึ้น Learn Corporation เลยหยิบเอาลิสต์คำถามคาใจและเรื่องเข้าใจผิดบ่อยๆ มาเพิ่มความเข้าใจให้ทุกคนกัน
อัตราภาษีคำนวณจากเงินเดือนอย่างเดียว
อัตราภาษีจะรวมจาก รายได้ทั้งปี x 12 เดือน รวมถึงโบนัสด้วย โดยอัตราเสียภาษีคิดจากสูตรง่ายๆ คือ [(เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) – เงินบริจาค] * อัตราภาษี
รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ ไม่ต้องยื่นภาษี
ถ้าเราทำงานประจำเงินเดือนเฉลี่ยไม่เกินหมื่นบาท ไม่ต้องยื่น เพราะเกณฑ์คือ 120,000 บาท/ปี ที่ต้องยื่นภาษี ดังนั้น ถ้าเงินเดือนเกิน 10,000 บาท/เดือน กฎหมายบังคับว่าต้องยื่นภาษี แต่ต้องจ่ายหรือเปล่าขึ้นกับว่ารายได้เยอะแค่ไหน
ยื่นภาษีผิดแก้ไขไม่ได้
กรณียื่นผ่านระบบออนไลน์ หากรอกไม่ครบ สามารถแก้ไขได้ โดยกด “ยื่นเพิ่มเติม” ได้เลย แต่หากผิดพลาดหลังยื่นภาษีแล้ว คือส่วนที่ได้รับเงินคืนมาแล้วเพิ่งทราบว่ามีข้อผิดพลาด ให้ลองตรวจสอบจำนวนเงินคืนที่ได้รับมา โดยถ้าได้รับมากหรือน้อยกว่าที่ควร ให้รีบติดต่อกรมสรรพากรเพื่อจะได้พิจารณาข้อมูลการยื่นภาษีของเราอีกครั้ง โดยสามารถยื่นแก้ไขได้ภายใน 3 ปี
ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย = เสียภาษีแล้ว
ที่จริงแล้ว การหักภาษี ณ ที่จ่าย แปลว่า เราได้จ่ายภาษีล่วงหน้า โดยเราต้องเอารายได้ทั้งหมดมาคำนวณภาษีอีกที เมื่อได้ยอดภาษีที่ต้องจ่ายออกมา จึงเอาภาษีที่ถูกหักไว้ทั้งหมดในปีนั้น มาลบออก แล้วดูส่วนต่างนั้นว่าต้องจ่ายเพิ่มหรือขอคืนได้
ถ้าไม่สมัครพร้อมเพย์ จะไม่ได้ภาษีคืน
การสมัครพร้อมเพย์ช่วยทำให้เราสามารถคืนภาษีได้ไวขึ้น แต่ในกรณีที่ไม่มีพร้อมเพย์ ก็สามารถนำหนังสือแจ้งคืนภาษีไปติดต่อที่ธนาคารกรุงไทย เพื่อนำเงินภาษีเข้าบัญชีได้
เรื่องภาษีไม่ใช่เรื่องไกลตัวและยากอย่างที่คิด แต่เราต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม รวบรวมรายได้และรายการลดหย่อนให้ครบถ้วน ตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน และติดตามรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เพื่อปีหน้าจะได้ยื่นภาษีได้อย่างสบายใจไร้กังวล