Green Skills

Green Skills ทักษะจำเป็นในยุคเปลี่ยนผ่าน สู่โลกเศรษฐกิจสีเขียว

สภาพอากาศแปรปรวน โลกร้อนรุนแรง คือสาเหตุที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัว หลายองค์กรเริ่มให้ความสำคัญกับเทรนด์การพัฒนาแบบยั่งยืน ด้วยการเป็นธุรกิจที่ส่งเสริมและลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม จากรายงาน Global Green Skills Report 2023 โดย LinkedIn พบว่า จำนวนงานของธุรกิจสีเขียวระหว่างปี 2022 – 2023 เติบโตขึ้น 22% แรงงานที่มี Green Skill มีโอกาสจะได้งานมากกว่าแรงงานปกติ 29% และ Green Skill หรือทักษะสีเขียว เองกำลังกลายเป็นทักษะจำเป็นที่ทุกคนต้องมีในยุคเปลี่ยนผ่านนี้ LEARN Corporation ได้รวบรวมทักษะที่สำคัญ พร้อม 5 อาชีพเกิดใหม่ในยุคนี้มาไว้ให้แล้ว!

 

Green Skills หรือ ทักษะสีเขียว คืออะไร ?

องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ให้คำจำกัดความไว้ว่า “ชุดความรู้ ศักยภาพ และความสามารถเฉพาะทางที่จะทำให้ผู้คนสามารถทำงาน และใช้ชีวิตในวิถีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือยั่งยืนมากยิ่งขึ้น โดยไม่คำนึงว่าเป็นภาคส่วนหรืออุตสาหกรรมใด” ซึ่งสำหรับกลุ่มสายงานสีเขียว ทักษะนี้จำเป็นสำหรับกลุ่มงานสนับสนุนการทำธุรกิจที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ

 

ทักษะของสายงานกลุ่มสีเขียวมีอะไรบ้าง ?

  1. Critical Systems & Nature-Centric Thinking – คิดเชิงระบบโดยให้ธรรมชาติเป็นศูนย์กลางเพื่อออกแบบระบบที่ยั่งยืน
  2. Long-term Thinking – ให้ความสำคัญกับอนาคตของคนรุ่นใหม่ในกระบวนการตัดสินใจ
  3. Dynamic Operations & Crisis Management – บริหารงานที่ยืดหยุ่นและปรับตัวได้เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอน
  4. Historical & Cultural Understanding – เข้าใจในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่หลากหลายเพื่อสร้างการเชื่อมโยงระดับโลก
  5. Monitoring Skills – ตรวจสอบการปล่อยมลพิษและความเสี่ยงสิ่งแวดล้อม
  6. Baseline Fallback Skills – จัดการชีวิตพื้นฐาน เช่น การปลูกและเก็บรักษาอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน
  7. Pioneer & Entrepreneurial Skills – ริเริ่มไอเดียใหม่และสร้างนวัตกรรมในองค์กร
  8. Interpersonal Skills & Kindness – การเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นในสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย
  9. Artistry & Storytelling Skills – การเล่าเรื่องเพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมผ่านศิลปะและอารมณ์

 

5 อาชีพที่น่าจับตามองในกลุ่มงานสายสีเขียว

  1. ผู้จัดการฝ่ายความยั่งยืน (Sustainability Manager)

วิเคราะห์ผลกระทบทางนิเวศวิทยาและสังคมของบริษัท พัฒนากลยุทธ์ระยะสั้น และระยะยาวในการปรับโมเดลธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายการผลิตแบบหมุนเวียน และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

  1. ช่างเทคนิคกังหันลม (Wind Turbine Technician)

รับผิดชอบติดตั้ง ใช้งาน บำรุงรักษา และซ่อมแซมกังหันลม

  1. นักนิเวศวิทยา (Ecologist)

ทำหน้าที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพืช สัตว์ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม โดยสำรวจผลกระทบที่ต่างฝ่ายมีต่อกัน รวมถึงศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุและพัฒนาวิธีการแก้ไข

  1. ที่ปรึกษาด้านพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Consultant)

ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือลูกค้า ทั้งเชิงพาณิชย์และเอกชนในการเลือกระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประสิทธิภาพสูงสุดตามความต้องการ

  1. ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อม-ความปลอดภัย (Environmental Health and Safety Specialist)

ทำหน้าที่ตรวจสอบและติดตามเทคโนโลยี เครื่องจักร และกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าได้มาตรฐานความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนด