Identity Crisis วิกฤตอัตลักษณ์ของวัยรุ่น

ช่วงวัยรุ่นเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย ฮอร์โมน และอารมณ์ จึงไม่แปลกที่วัยนี้เริ่มสนใจที่อยากรู้อยากลอง เพื่อแสวงหาตัวตน แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย
 

 
“ตัวตน” คือ สิ่งสำคัญในชีวิต
Identity Crisis เป็นแนวคิดของเอริค เอริคสัน นักจิตวิทยาชาวเยอรมันที่เชื่อว่า ตัวตนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต โดยจะเติมเต็มช่วงเวลาในวัยรุ่น และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ท้าทายใหม่ ๆ รวมถึงความรู้สึกส่วนตัวที่อาจถูกความเชื่อและทัศนคติของคนอื่นเข้ามามีอิทธิพล ทำให้เราอาจให้น้ำหนักกับความคิดตัวเองน้อยลง และกลายเป็นแบบที่สังคมอยากให้เป็นแทนได้ ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง ซึ่งในช่วงวัยรุ่น (12-18 ปี) ถือเป็นช่วงที่สับสนและอ่อนไหวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลายอย่างจนอาจทำให้เกิดรูปแบบตัวตนที่
แตกต่างกันไปได้
 

รูปแบบตัวตนของวัยรุ่น
เจมส์ มาร์เซีย นักจิตวิทยาคลินิกชาวอเมริกัน ได้นำทฤษฎีของอีริคสันมาต่อยอด โดยได้ศึกษาและพิจารณาจากปัจจัย 3 อย่างที่มีผลต่อวัยรุ่นคือ บทบาทในอาชีพ ความเชื่อค่านิยม และทัศนคติทางเพศ จนเกิดเป็นรูปแบบตัวตนของวัยรุ่น 4 สถานะ คือ
– Identity Foreclosure คือ วัยรุ่นที่เลือกโดยไม่ผ่านการสำรวจตัวเอง เพราะมีแรงจูงใจทางความคิด ความเชื่อ และการชักจูงจากผู้ปกครองและคนรอบข้าง
– Identity Diffusion คือ วัยรุ่นที่พบกับความล้มเหลวในการแสดงอัตลักษณ์ ซึ่งเกิดจากการที่อัตลักษณ์นั้นถูกทำลาย จนนำมาสู่การเป็นคนเก็บตัวและซึมเศร้า
– Identity Moratorium คือ วัยรุ่นที่มีความผันผวนมากที่สุด พยายามค้นหาตัวเองที่หลากหลาย โดยยังไม่ได้เลือกตัวตนที่ชัดเจน ทำให้ขาดความเชื่อมั่น เพราะหาตัวตนที่เหมาะสมของตัวเองไม่ได้
– Identity Achievement คือตัวตนของวัยรุ่นที่ได้แก้ไขและสำรวจอัตลักษณ์อย่างถ่องแท้ จนสามารถเลือกตัวตนของตัวเองได้อย่างแท้จริง

ทำไมเป็นวัยรุ่นจึงอ่อนไหว
เพราะในช่วงวัยรุ่นจะเกิดความสับสนและขัดแย้งระหว่างความต้องการ ความเชื่อในอุดมคติ (ideal self) กับสภาพความเป็นจริง (realistic) อาจทำตัวเลียนแบบนักร้อง หรือดารานักแสดงที่ชื่นชอบ เพราะต้องการที่จะเติบโตเป็นเช่นนั้น สุดท้ายสภาพความเป็นจริงทำให้พวกเขาต้องปรับเปลี่ยนหาสิ่งที่เหมาะสมเข้ากับตัวเอง หรือการซึมซับจากสภาพแวดล้อมใกล้ตัวก็มีผลต่อการค้นหาตัวตนเช่นกัน เช่น พ่อแม่เล่นดนตรี ลูกก็มีแนวโน้มที่จะชอบเล่นดนตรี หรือมีเพื่อนเป็นนักกีฬา พวกเขาก็มีแนวโน้มที่อยากเป็นนักกีฬาตามไปด้วย ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ตัวตนเหล่านั้นอาจไม่ใช่ตัวตนแท้จริงที่ตัวเองต้องการ และอาจมีตัวตนอื่นที่เหมาะสมกับตัวเองมากกว่า แต่จากการเลือกอัตลักษณ์โดยไม่ผ่านการกลั่นกรองที่ดี และรวมถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเลือกอัตลักษณ์นั้นไปแล้ว อาจทำให้ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ จนสุดท้ายกลายมาเป็นวิกฤตอัตลักษณ์ และทำให้ตัวเองไม่ประสบความสำเร็จ

การค้นหาตัวตนอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในบางคนที่จะค้นหาให้เจอได้ทันที อาจต้องลองผิด ลองถูกกว่าจะเจอสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง แต่ทั้งหมดผ่านมาเป็นประสบการณ์และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชีวิต แต่ถ้าเราได้เตรียมตัวก่อนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นได้ดีเท่าไหร่ ยิ่งทำให้สามารถค้นหาตัวตนเจอและเหมาะสมได้เร็วยิ่งขึ้นกับ Learn O Life โปรแกรมค้นหาตัวเองรอบด้าน ช่วยให้น้องที่กำลังก้าวสู่ช่วงทางเลือกของชีวิต (ระดับชั้น ม.3 – ม.6) ได้รู้จักตัวเองในมุมที่ไม่เคยเห็นมาก่อน สามารถตัดสินใจเลือก คณะหรืออาชีพในอนาคตได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน และวางแผนชีวิตของตัวเองได้ดีที่สุดในแบบของตัวเอง